เตือนภัยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอก “ต๋อง ศิษย์ฉ่อย” จนสูญเงิน 3.2 ล้านบาท

วันนี้ 23 พ.ค. 2566 พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. หัวหน้าคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กล่าวว่า ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (14-20 พ.ค.2566 มีสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุดยังเป็นคดีเดิมๆ5 อันดับ ได้แก่

1) คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ

2) คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ

3) คดีหลอกลวงให้กู้เงิน

4) คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center)

5) คดีหลอกลวงให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์

สำหรับคดีออนไลน์ที่มิจฉาชีพนำมาหลอกลวง นายวัฒนา ภู่โอบอ้อม หรือ ต๋อง ศิษย์ฉ่อยสูญเงินไป 3.2 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนต้องเตือนให้ประชาชนได้รับทราบ จึงได้เชิญ ต๋อง ศิษย์ฉ่อยมาร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้ด้วย

ด้าน พ.ต.อ.ก้องกฤษฎากิตติถิระพงษ์ รองผู้บังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.สอทคำพูดจาก สล็อตวอเลท. กล่าวถึงรายละเอียดภัยออนไลน์ในรูปแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์แอบอ้างเป็นตำรวจโทรศัพท์ข่มขู่ ต๋อง ศิษย์ฉ่อย ว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและฟอกเงิน โดยมิจฉาชีพคนที่ 1 แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทย โทรศัพท์หานายวัฒนา แจ้งว่าค้างชำระบัตรเครดิตธนาคารกรุงไทย หากไม่ได้ใช้บัตรเครดิต แสดงว่ามีบุคคลอื่นนำบัตรเครดิตไปใช้ และแนะนำให้ไปแจ้งความที่ สภ.เมืองนครสวรรค์ ซึ่งเป็นท้องที่เกิดเหตุ

เตือน! อย่ากดลิงก์ อ้างประกันสังคม อัปเดตข้อมูลถอนเงินสมทบก่อนกำหนด

อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพ อ้างเป็นจนท.รัฐ โทรแจ้งคลิกลิงก์ โหลดแอปฯ

และต่อสายโทรศัพท์ให้คุยกับมิจฉาชีพคนที่ 2 ซึ่งอ้างตนเป็น พ.ต.อ.เสฎฐวุฒิ รอดจันทร์ เนื่องจากเห็นว่าไม่สะดวกเดินทางไปแจ้งความ ระหว่างนั้นมิจฉาชีพคนที่ 3 ใช้บัญชีไลน์ ชื่อ “สภ.เมืองนครสวรรค์” ส่งบัตรประจำตัว พ.ต.อ.เสฎฐวุฒิ รอดจันทร์ มาให้ดูและแจ้งด้วยว่า นายวัฒนาฯ เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติดและฟอกเงินพร้อมส่งบัญชีธนาคารของนายวัฒนาฯ มาให้ตรวจสอบและแจ้งว่าได้ขายสมุดบัญชีธนาคารที่ไม่ได้ใช้แล้วให้บุคคลอื่นในราคา 50,000 บาทและมีเงินจำนวน 850,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่ได้จากการขายยาเสพติดโอนเข้ามาในสมุดบัญชี หากต้องการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ต้องโอนเงินมาตรวจสอบเส้นทางการเงิน หากตรวจสอบแล้วไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดใดๆจะโอนเงินคืน นายวัฒนา หลงเชื่อจึงโอนเงินจากบัญชีธนาคาร 5 บัญชี จำนวน 10 ครั้ง เข้าบัญชี น.ส.สุดารัตน์ (ขอสงวนนามสกุล) และ น.ส.ชนกานต์ (ขอสงวนนามสกุล) รวมเป็นเงิน 3,202,380.7 บาท ให้มิจฉาชีพไป

จุดสังเกต

1.โทรศัพท์แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สถาบันการเงินต่างๆ แล้วเริ่มบทสนทนาพูดคุยโน้มน้าวให้หลงเชื่อ

2.อ้างสถานที่เกิดเหตุไกลจากบ้านหรือที่อยู่ผู้เสียหาย เพื่อให้ผู้เสียหายไม่อยากเดินทางไปสถานีตำรวจ และต้องการความสะดวกในการติดต่อทางโทรศัพท์ไลน์ หรือทางอื่น

3.แอบอ้างเจ้าหน้าที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นๆ ส่งบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ หรือหนังสือของทางราชการ ข่มขู่เพื่อให้เกิดความกลัวแล้วให้โอนเงินให้คนร้ายตรวจสอบ

4.มิจฉาชีพใช้บัญชีไลน์ส่วนบุคคลแต่ส่วนราชการหรือหน่วยงานรัฐใช้บัญชีทางการ (Line Official)

5.บัญชีรับโอนเงินของมิจฉาชีพเป็นบัญชีส่วนบุคคลแต่บัญชีส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน เป็นบัญชีหน่วยงานหรือองค์กร

วิธีป้องกัน

1) ให้ติดต่อ call center ของธนาคารเพื่อสอบถามข้อมูลโดยตรง เพราะธนาคารไม่มีนโยบายในการโทรศัพท์แจ้งให้ประชาชนโอนเงินไปตรวจสอบ หรือโหลดแอพพลิเคชั่น

2) กรณีอ้างหน่วยงานของรัฐที่เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ให้โทรศัพท์สอบถามข้อมูลจากหน่วยงานนั้นๆ โดยตรง

3) ให้นัดหมายไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อแจ้งความ สอบสวนปากคำ ชี้แจง หรือยื่นพยานเอกสารพยานวัตถุ ณ สถานที่เกิดเหตุหรือสถานที่ราชการด้วยตนเอง

4) ถ้ามีการสนทนาทาง Video call ให้มีสติและสังเกตปากกับเสียงตรงกันหรือไม่ หรือ ภาพและท่าทางมีความผิดปกติหรือไม่(คนร้ายสามารถใช้โปรแกรมปลอมใบหน้าขณะสนทนาได้)

 เตือนภัยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอก “ต๋อง ศิษย์ฉ่อย” จนสูญเงิน 3.2 ล้านบาท

You May Also Like

More From Author